รายละเอียด |
เหรียญเสมาหลวงปู่ทวด 100 ปี พระอาจารย์ทิม เนื้อเงินหน้ากากทอง เลี่ยมกรอบทอง 90% หนัก 4.6 กรัม 1 ใน 1,555 เหรียญ No.515
เหรียญเสมาหลวงปู่ทวด 100 ปี
100ปีชาตกาลอาจารย์ทิม สร้างโดยวัดช้างไห้ ในวาระครบ 100 ปี ชาตกาล (พ.ศ.2455-2555) ของพระอาจารย์ทิม และยังได้ทำพิธีตรงกับวันเสาร์ห้าอีกด้วย เรียกว่า วัตถุมงคล “พระหลวงพ่อทวด รุ่นเสาร์ ๕ มหามงคล” มีพิธีมหาพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2555 ณ อุโบสถวัดช้างให้ เวลา 15.55 น.
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง หลวงปู่ทวด 100ปี อาจารย์ทิม เสาร์ ๕ มหามงคล
1.เพื่อน้อมรำลึกคุณูปการของอาจารย์ทิม
2.จัดซื้อที่ดินขยายอาณาเขต วัดช้างให้
3.บูรณปฏิสังขรณ์ซุ้มประตูรอบพระอุโบสถ วัดช้างให้
4.สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี ประจำจังหวัดปัตตานี
5.ส่งเสริมศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดช้างให้
6.งานสาธารณประโยชน์ของทางราชการ และประชาชนทั่วไป
พระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่น “เสาร์ ๕ มหามงคล ๑๐๐ ปี พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม)”
๑๐๐ ปี ชาตกาล (พ.ศ.๒๔๕๕-๒๕๕๕) ของพระอาจารย์ทิม หรือพระครูวิสัยโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ปฐมเหตุแห่งตำนานการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดที่โด่งดัง ต่อมาท่านเจ้าคุณพระสุนทรปริยัติ วิธาน เจ้าอาวาสวัดช้างให้ รูปปัจจุบัน ได้แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตาคุณ น้อมรำลึกบารมีธรรมหลวงพ่อทวดและพระอาจารย์ทิม ครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล “พระหลวงพ่อทวด รุ่นเสาร์ ๕ มหามงคล” มีพิธีมหาพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ณ.อุโบสถวัดช้างให้ เวลา ๑๕.๕๕ น.
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง หลวงพ่อทวด รุ่นเสาร์ ๕ มหามงคล
๑.เพื่อน้อมรำลึกคุณูปการของอาจารย์ทิม
๒.จัดซื้อที่ดินขยายอาณาเขต วัดช้างให้
๓.บูรณปฏิสังขรณ์ซุ้มประตูรอบพระอุโบสถ วัดช้างให้
๔.สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี ประจำจังหวัดปัตตานี
๕.ส่งเสริมศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดช้างให้
๖.งานสาธารณประโยชน์ของทางราชการ และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดพิธีมหาพุทธาภิเษก
วันเสาร์ ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๕๕ น. พิธีไหว้ครูบวงสรวงดวงวิญญานสมเด็จหลวงพ่อทวด
วันเสาร์ ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๕.๕๕ น. พิธีเททอง ณ หน้าวิหารพลวงพ่อทวดวัดช้างให้
วันเสาร์ ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๕.๕๕ พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดช้างให้
พิมพ์เสมา รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้าง ดังนี้
เนื้อทองคำ ลงยาสีแดง จำนวนสร้าง ๒๕๕ เหรียญ
เนื้อทองคำ จำนวนสร้าง ๕๕๕ เหรียญ
เนื้อเงินหน้ากากทอง จำนวนสร้าง ๑,๕๕๕ เหรียญ
เนื้อเงินลงยา จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ เหรียญ
เนื้อเงิน จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ เหรียญ
เนื้อนวโลหะ หน้ากากเงิน จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ เหรียญ
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๙,๕๕๕ เหรียญ
เนื้ออาปาก้า จำนวนสร้าง ๒๕,๕๕๕ เหรียญ
เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง ๙๕,๕๕๕ เหรียญ
เหรียญเสมารุ่นนี้ ออกแบบได้ดีมาก เป็นจุดรวมของหลวงปู่ทวด พิมพ์นิยม หลายพิมพ์ ไว้ในองค์เดียวต่อไปนี้ครับ
๑. พิมพ์ประคดข้างเดียว นิยม
๒. พิมพ์ช้างปล้อง นิยม
๓. พิมพ์ ๓ จุด นิยม
พิมพ์หลังเตารีด รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้าง ดังนี้
หลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ A
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ องค์
เนื้อสำริด จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ องค์
หลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ B
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ องค์
เนื้อสำริด จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ องค์
หลังเตารีดพิมพ์กลาง A
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ องค์
เนื้อสำริด จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ องค์
หลังเตารีดพิมพ์กลาง B
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ องค์
เนื้อสำริด จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ องค์
หลังเตารีดพิมพ์เล็ก
เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๒,๕๕๕ องค์
เนื้อสำริด จำนวนสร้าง ๕,๕๕๕ องค์
วัตถุมงคลทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับ (เหรียญเสมา เนื้ออาปาก้า,เนื้อทองแดง มีเฉพาะโค้ด ท)
หมายเหตุ : นอกจากรายการดังกล่าวยังมีในส่วนชุดกรรมการได้แก่
๑. กรรมการใหญ่ (๖ เหรียญ) จำนวนสร้าง ๙๙ ชุด
(เหรียญทองคำลงยาสีแดง, เหรียญเงิน, เหรียญนวะหน้ากากเงิน, เหรียญทองแดงลงยาแดง,เหรียญทองแดงลงยาน้ำเงิน, เหรียญทองแดงลงยาเขียว)
๒. ชุดกรรมการเล็ก (๓ เหรียญ) จำนวนสร้าง ๘๐๐ ชุด (เหรียญทองแดงลงยาแดง,เหรียญทองแดงลงยาน้ำเงิน, เหรียญทองแดงลงยาเขียว)
๓. ชุดกรรมการแจกคนช่วยงาน (๓ เหรียญ)จำนวนสร้าง ๓๐๐ ชุด
(เหรียญทองแดงลงยา, เหรียญอาปาก้า, เหรียญทองแดง)
๔. เหรียญเนื้อทองคำกรรมการ จำนวนสร้าง ๒๒ เหรียญ
๕. เหรียญเนื้อเงินหน้ากากทองคำกรรมการ จำนวนสร้าง ๑๐ เหรียญ
๖. เหรียญเนื้อเงินกรรมการ จำนวนสร้าง ๙๙๙ เหรียญ
๗. เหรียญนวโลหะหน้ากากเงินกรรมการ จำนวนสร้าง ๙๙๙ เหรียญ
๘. เหรียญนวโลหะกรรมการ จำนวนสร้าง ๕๐๐ เหรียญ
๙. พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ A นวโลหะกรรมการ จำนวนสร้าง ๙๙๙ องค์
๑๐. พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ A สำริด กรรมการ จำนวนสร้าง ๑๕๕ องค์
๑๑. พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ B นวโลหะกรรมการ จำนวนสร้าง ๒๕๕ องค์
รุ่นนี้ดีอย่างไร?
๑.ปี ๒๕๕๕ เลขดี ปีมังกรทอง ปีมะโรง
ปีมะโรง มังกรทองปีนี้ทำให้คนจีนเดินทางมาประเทศไทยเพื่อฉลองตรุษจีนที่ประเทศไทยจนต้องเพิ่มเที่ยวบิน คนไทยเชื่อสายจีนและคนจีนถือว่าตรุษจีนตรงกับปีมังกรทองเป็นปีที่ดีมาก เนื่องจากคนจีนถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ
ใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีนอันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของพี่น้องชาวจีน ซึ่งปีนี้ ๒๕๕๕ ว่ากันว่าเป็นปีมังกรทอง คนจีนใช้มังกรเป็นสัตว์สัญลักษณ์แทนปีมะโรงซึ่งจะแตกต่างกับคนไทยเราที่ใช้พญานาค ซึ่งนอกจากรูปร่างหน้าตาจะคล้ายกันแล้วสัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ยังเป็นสัตว์ในตำนานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ น่าเคารพยำเกรงอีกด้วย
๒.ครบ ๒๖๐๐ ปี พุทธชยันตี
วันวิสาขบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และเป็นวันครบรอบ ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งหน่วยงานราชการ สถาบัน องค์กรทางศาสนาจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเนื่องในวันวิสาขบูชา และเรียกงานในครั้งนี้ว่า “พุทธชยันตี” วันครบรอบวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่เน้นเป็นกรณีพิเศษเพราะครบรอบ ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้
คำว่า “พุทธชยันตี” มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (คำว่า “ชยันตี” เป็นคำในภาษาสันสกฤตแปลว่า “วันครบรอบ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Anniversary” ส่วนคำว่า “พุทธ” เป็นภาษาบาลี คำนามเพศชายแปลว่า พระพุทธเจ้า ผู้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หากเป็นคำคุณนาม “พุทธ”ก็จะแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอย่างเต็มที่ เมื่อนำมารวมกันเป็น “พุทธชยันตี” จึงแปลว่า การครบรอบวันประสูติ วันตรัสรู้และวันปรินิพพานของของพระพุทธเจ้า
ชาวพุทธเชื่อกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนวิสาข(เดือนหก)ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หรือปัจจุบันคือพุทธคยา ประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธเจ้าเผยแผ่ประกาศพระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปีก่อนจะปรินิพพาน ปีพุทธศักราชเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้หนึ่งปี เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็น ๔๕ + ๒๕๕๕ จึงเป็นปีแห่งพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้า หรือจะเรียกว่า “ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี” ก็ได้
๓. ครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาลอาจารย์ทิม
ครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการถือกำเนิด“นายทิม พรหมประดู่” ก่อนที่จะเป็นที่รู้จักกันในนาม “พระครูวิสัยโสภณ ธัมมธโร” ผู้สร้างตำนานพระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้
พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย
. https://ponsrithong.com/
web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง
Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/ |